วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สื่อและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์


สื่อและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์

สื่อ

                เมื่อพิจารณาคำว่า "สื่อ" ในภาษาไทยกับคำในภาษาอังกฤษ พบว่ามีความหมายตรงกับคำว่า "media" (ในกรณีที่มีความหมายเป็นเอกพจน์จะใช้คำว่า "medium") คำว่า "สื่อ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้ "สื่อ (กริยา) หมายถึง ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย, ชักนำให้รู้จักกัน สื่อ (นาม) หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกัน, เรียกผู้ที่ทำหน้าที่ชักนำให้ชายหญิงได้แต่งงานกันว่า พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ; (ศิลปะ) วัสดุต่างๆ ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ให้มีความหมายตามแนวคิด ซึ่งศิลปินประสงค์แสดงออกเช่นนั้น เช่น สื่อผสม"
                A. J. Romiszowski (1992) ศาสตราจารย์ทางด้านการออกแบบ การพัฒนา และการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "the carriers of messages, from some transmitting source (which may be a human being or an inanimate object) to the receiver of the message (which in our case is the learner)" ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "ตัวนำสารจากแหล่งกำเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์ หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต ) ไปยังผู้รับสาร (ซึ่งในกรณีของการเรียนการสอนก็คือ ผู้เรียน)"
                Heinich และคณะ (1996)  Heinich เป็นศาสตราจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีระบบการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยอินเดียน่า (Indiana University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "Media is a channel of communication." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "สื่อ คือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร" Heinich และคณะยังได้ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า "media มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ระหว่าง (between) หมายถึง อะไรก็ตามซึ่งทำการบรรทุกหรือนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ สื่อเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดสารกับผู้รับสาร
                ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สื่อหมายถึง  สิ่งใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางระหว่างแหล่งกำเนิดของสารกับผู้รับสาร เป็นสิ่งที่นำพาสารจากแหล่งกำเนิดไปยังผู้รับสาร เพื่อให้เกิดผลใดๆ ตามวัตถุประสงค์ซึ่งรวมถึงมนุษย์และสิ่งมีชีวิตที่อยู่รอบๆ ตัว

นวัตกรรม

                “นวัตกรรมหมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
                “นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมแนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
                คำว่า นวัตกรรมเป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า นวกรรมต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation)
                ทอมัส  ฮิวช์ (Thomasl Hughes, 1971 อ้างถึงใน  ไชยยศ  เรืองสุวรรณ. 2521 : 13) ได้ให้ความหมายของ คำว่า นวัตกรรมว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆมาปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention)  พัฒนาการ (Development)  ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)  แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา และเรียกว่า  นวกรรม (Innovation)”
                ไมล์  แมทธิว (Miles Matthew B.  อ้างถึงใน ไชยยศ  เรืองสุวรรณ. 2521 : 14)  ได้กล่าวถึง นวัตกรรมไว้ในเรื่อง  Innovation in Education ว่า นวกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงแนวคิดอย่างถ้วนถี่ การเปลี่ยนแปลงให้ใหม่ขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เป้าหมายของระบบบรรลุผล
                ไชยยศ  เรืองสุวรรณ (2521 : 14)  ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมา หรือการปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนามาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
                วสันต์  อติศัพท์ (2523 : 15) กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม เป็นคำสมาสระหว่าง นวและ กรรม”  ซึ่งมีความหมายว่า ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เช่น นวัตกรรมทางการแพทย์ หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง ตลอดจนแก้ปัญหาทางการแพทย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน นวัตกรรมการศึกษาก็หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษา
                กิดานันท์  มลิทอง (2540 : 245)  ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
                ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า นวัตกรรม หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาหรือต่อยอดจากของเดิมให้ดียิ่งขึ้น และเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา

การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์

            การเรียนรูคือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการไดรับประสบการณและประสบการณนั้นทําใหเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิมซึ่งในการเรียนการสอนไม่วาจะเปนวิชาใดก็ตาม ครูจะตองรูจิตวิทยาในการสอน เพื่อให้การสอนสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ ในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และสามารถนำ คณิตศาสตร์ไปประยุกต์เพื่อพัฒนาคุณภาพของชีวิตและพัฒนาคุณภาพของสังคมไทยให้ดีนั้นผู้จัดควรคำนึงถึงความเหมาะสมและความจำ เป็นในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ ความพร้อมของสถานศึกษาในด้านบุคลากร ผู้บริหาร ผู้สอน ผู้เรียน และสิ่งอำนวยความสะดวก การจัดสาระการเรียนรู้จะต้องจัดให้สอดคล้องกับสาระของกลุ่ม คณิตศาสตร์ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่กำหนดสาระการเรียนรู้ที่จำ เป็นสำหรับผู้เรียนทุกคนไว้ดังนี้
                1) จำนวนและการดำเนินการ
                2) การวัด
                3) เรขาคณิต
                4) พีชคณิต
                5) การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                6) ทักษะ / กระบวนการทางคณิตศาสตร์


หลักและแนวการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

                1.สอนให้ผูเรียนเกิดมโนทัศน์หรือไดความรูทางคณิตศาสตร์จากการคิดและมีส่วนรวมใน
การทำกิจกรรมกับผู้อื่น ใชความคิดและคําถามที่นักเรียนสงสัยเป็นประเด็นในการอภิปราย  เพื่อให
ไดแนวคิดที่หลากหลาย  และเพื่อนำไปสู่ข้อสรุป
               2.สอนใหผูเรียนเห็นโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ความสัมพันธ์และความต่อเนื่องของเนื้อหา
คณิตศาสตร์
               3.สอนโดยคำนึงว่าจะให้นักเรียนเรียนอะไร (What)และเรียนอย่างไร (How)นั่นคือตอง
คำนึงถึงทั้งเนื้อหาวิชาและกระบวนการเรียน
                 4.สอนโดยการใชสิ่งที่เป็นรูปธรรมอธิบายนามธรรม หรือการทําใหสิ่งที่เป็นนามธรรมมากๆ
เป็นนามธรรมที่ง่ายขึ้นหรือพอที่จะจินตนาการได้มากขึ้นเนื่องจากมโนทัศน
ทางคณิตศาสตร์บางอยางไมสามารถหาสื่อมาอธิบายได
                 5.จัดกิจกรรมการสอนโดยคำนึงถึงประสบการณและความรูพื้นฐานของนักเรียน
                 6.สอนโดยใช้แบบฝึกหัดให้ผู้เรียนเกิดประสบการณในการแกปญหาทางคณิตศาสตร์ทั้งการ
กรายบุคคล การฝึกเป็นลุ่ม การฝึกทักษะย่อยทางคณิตศาสตร์และการฝึกทักษะรวม เพื่อแกปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น
                 7.สอนเพื่อใหผูเรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาสามารถใหเหตุผล เชื่อมโยง
สื่อสาร และคิดอย่างสร้างสรรค์ตลอดจนเกิดความอยากรูอยากเห็น
                 8.สอนใหนักเรียนเห็นความสัมพันธ์ระหว่างคณิตศาสตร์ในหองเรียนกับคณิตศาสตร์ใน
ชีวิตประจําวัน
                 9.ผูสอนควรศึกษาธรรมชาติและศักยภาพของผูเรียน
                10.สอนใหผูเรียนมีความสุขในการเรียนคณิตศาสตร์รูสึกวาวิชาคณิตศาสตร์ไม่ยาก และมี
ความสนุกสนานในการทํากิจกรรม
                 11.สังเกตและประเมินการเรียนรูและความเขาใจของผู้เรียนขณะเรียนในห้องโดยใช
คําถามสั้นๆ หรือการพูดคุยปกติ
               นอกจากนี้ยุพิน  พิพิธกุล (2545) ยังไดกลาวถึงหลักการสอนคณิตศาสตร์ไวว
                 1.ควรสอนจากเรื่องงายไปสูเรื่องยาก
                 2.เปลี่ยนจากรูปธรรมไปสูนามธรรมในเรื่องที่สามารถใชสื่อการเรียนการสอนรูปธรรม
ประกอบ
                 3.สอนให้สัมพันธ์ความคิดเมื่อครูจะทบทวนเรื่องใดก็ควรจะทบทวนให้หมด  การรวบรวม
เรื่องที่เหมือนกันเข้าเป็นหมวดหมู่จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจและจำได้แม่นยำ
               4.เปลี่ยนวิธีการสอนไมซ้ำซากนาเบื่อหน่าย  ผูสอนควรจะสอนใหสนุกสนานและน่าสนใจ
ซึ่งอาจจะมีกลอน เพลง เกม การเล่าเรื่อง การทําภาพประกอบ การตูน ปริศนา ตองรูจัก สอดแทรก
สิ่งละอันพันละน้อย เพื่อให้บทเรียนน่าสนใจ
                 5.ใชความสนใจของนกเรียนเป็นจุดเริ่มต้น เป็นแรงดลใจที่จะเรียนด้วยเหตูนี้ในการสอน
จึงมีการนำเขาสู่บทเรียนเร้าใจเสียก่อน
                6.ควรจะคำนึงประสบการณ ึ เดิมและทักษะเดิมที่นักเรียนมีอยู กิจกรรมใหมควรจะต่อเนื่อง
กับกิจกรรมเดิม
                 7.เรื่องที่มีสัมพันธกันก็ควรจะสอนไปพร้อม ๆ กัน
                 8.ใหผูเรียนมองเห็นโครงสรางไมใชเนนแตเนื้อหา
                 9.ไมควรเปนเรื่องยากเกินไปผูสอนบางคนชอบใหโจทยยาก ๆ เกินสาระการเรียนรูที่กําหนด
ไวซึ่งอาจจะทำให้ผูเรียนที่เรียนอ่อนท้อถอย  แตถาผูเรียนเกงก็อาจจะชอบควรจะสงเสริมเปนรายไปในการสอนตองคํานึงถึงหลักสูตรและเลือกเนื้อหาเพิ่มเติมใหเหมาะสมทั้งนี้เพื่อสงเสริมศักยภาพ
               10.สอนใหนักเรียนสามารถหาข้อสรุปไดดวยตนเองการยกตัวอย่างหลายๆ ตัวอยาง จนนักเรียนเห็นรูปแบบจะช่วยให้นักเรียนสรุปได อยารีบบอกเกินไปควรเลือกวิธีการตางๆ ที่สอดคลองกับเนื้อหา
               11.ใหผูเรียนปฏิบัติในสิ่งทีทําไดลงมือปฏิบัติจริงและประเมินการปฏิบัติจริง
               12.ผูสอนควรจะมีอารมณ์ขัน เพื่อชวยใหบรรยากาศในหองเรียนนาเรียนยิ่งขึ้น
               13.ผูสอนควรจะมีความกระตือรือรน และตื่นตัวอยู่เสมอ
               14.ผูสอนควรหมั่นหาความรูเพิ่มเติมเพื่อจะนำสิ่งแปลก และใหมมาถายทอดใหผูเรียนและ
ผูสอนควรจะเปนผูที่มีศรัทธาในอาชีพของตนจึงจะทำให้สอนไดดี


การนำสื่อและนวัตกรรมการมาจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์

                การใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใหปจจุบัน จึงเป็นการนำเทคโนโลยีมาใชในการปฏิรูปการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนหรือเป็นสำคัญ เปนการเปลี่ยนบทบาทของผูเรียนจากผู้รับแต่ฝ่ายเดียวมาเป็นผู้กระตือรือร้น รวมถึงการมีส่วนร่วมในการเรียน ขณะเดียวกันผู้สอนย่อมเปลี่ยนจากเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียนการสอนมาเป็นผู้ คอยชี้แนะ ผูสนับสนุนให้ความร่วมมือ และบางครั้งจะเป็นผู้เรียนรูร่วมไปกับผู้เรียนด้วย (กิดานันท มลิทอง, 2548, หนา 12-16) และในยุคปัจจุบันมีผู้คิดคนนวัตกรรมใหม่มากมาย เพื่อตอบสนองต่อผู้เรียน เช่น ชุดการสอน สื่อต่าง อีกทั้ง คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในการตอบสนองต่อข้อมูลที่ผู้เรียนป้อนเข้าไปไดในทันที ซึ่งเป็นการช่วยเสริมแรงใหแกผูเรียน ทําใหมีการใชการสอนใชคอมพิวเตอร์ช่วย (computer-assistedinstruction : CAI) ที่เรียกกันวา คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ ซีเอไออยางแพรหลาย ลักษณะบทเรียนซีเอไอไดอาศัยแนวความคิดจากทฤษฎีการเชื่อมโยงระหวางสิ่งเรากับการตอบสนองซึ่งพัฒนามาจากบทเรียนแบบโปรแกรมนั่นเอง โดยผูเรียนสามารถเรียนรูจากโปรแกรมบทเรียนรูปแบบต่างๆ  ไดแก การสอน การฝึกหัด การจําลอง เกมเพื่อการสอน การค้นพบ การแกปญหา และเสียง ประกอบในลักษณะของสื่อประสม (multimedia) และสื่อหลายมิติ (hypermedia) ทำให้ผู้เรียนสนุกไมเบื่อหนายในการเรียน



อ้างอิง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คู่มือการวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์   คุรุสภา      ลาดพร้าว, 2546.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช    2551 แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2553.
บวร เทศารินทร์. นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา. เข้าถึงได้ จาก http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm.              
ที่มา  :   http://engpatcharawansuwan.blogspot.com/2012/06/blog-post.html



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น