สื่อและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
สื่อ
เมื่อพิจารณาคำว่า
"สื่อ" ในภาษาไทยกับคำในภาษาอังกฤษ พบว่ามีความหมายตรงกับคำว่า "media" (ในกรณีที่มีความหมายเป็นเอกพจน์จะใช้คำว่า
"medium") คำว่า "สื่อ"
ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้ "สื่อ
(กริยา) หมายถึง ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย, ชักนำให้รู้จักกัน
สื่อ (นาม) หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น
เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกัน, เรียกผู้ที่ทำหน้าที่ชักนำให้ชายหญิงได้แต่งงานกันว่า
พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ; (ศิลปะ) วัสดุต่างๆ ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม
ให้มีความหมายตามแนวคิด ซึ่งศิลปินประสงค์แสดงออกเช่นนั้น เช่น สื่อผสม"
A. J. Romiszowski (1992) ศาสตราจารย์ทางด้านการออกแบบ
การพัฒนา และการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "the
carriers of messages, from some transmitting source (which may be a human being
or an inanimate object) to the receiver of the message (which in our case is
the learner)" ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้
"ตัวนำสารจากแหล่งกำเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์
หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต ) ไปยังผู้รับสาร (ซึ่งในกรณีของการเรียนการสอนก็คือ
ผู้เรียน)"
Heinich และคณะ (1996) Heinich เป็นศาสตราจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีระบบการเรียนการสอน
ของมหาวิทยาลัยอินเดียน่า (Indiana
University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้
"Media is a channel of communication." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้
"สื่อ คือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร" Heinich
และคณะยังได้ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า
"media มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ระหว่าง
(between) หมายถึง อะไรก็ตามซึ่งทำการบรรทุกหรือนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ
สื่อเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดสารกับผู้รับสาร
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สื่อหมายถึง สิ่งใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางระหว่างแหล่งกำเนิดของสารกับผู้รับสาร
เป็นสิ่งที่นำพาสารจากแหล่งกำเนิดไปยังผู้รับสาร เพื่อให้เกิดผลใดๆ ตามวัตถุประสงค์ซึ่งรวมถึงมนุษย์และสิ่งมีชีวิตที่อยู่รอบๆ
ตัว
นวัตกรรม
“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ
หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน
หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว
ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare
ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา
ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่
เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น
โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส
(Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม”
แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph
Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation)
เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก
นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย
(พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย
คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate
แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน
จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ
เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ
เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม
ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา”
(Educational Innovation)
ทอมัส ฮิวช์ (Thomasl Hughes, 1971 อ้างถึงใน ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2521 : 13) ได้ให้ความหมายของ
คำว่า นวัตกรรมว่า “เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆมาปฏิบัติ
หลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว
โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention)
พัฒนาการ (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน
(Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง
ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา และเรียกว่า นวกรรม (Innovation)”
ไมล์ แมทธิว (Miles Matthew B. อ้างถึงใน ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2521 : 14) ได้กล่าวถึง นวัตกรรมไว้ในเรื่อง Innovation in Education ว่า
“นวกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงแนวคิดอย่างถ้วนถี่
การเปลี่ยนแปลงให้ใหม่ขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เป้าหมายของระบบบรรลุผล”
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม
หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่
ๆ ขึ้นมา
หรือการปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเล่านี้ได้รับการทดลอง
พัฒนามาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ
ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
วสันต์ อติศัพท์ (2523 : 15) กล่าวไว้ว่า
นวัตกรรม เป็นคำสมาสระหว่าง “นว” และ “กรรม” ซึ่งมีความหมายว่า
ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เช่น นวัตกรรมทางการแพทย์
หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง
ตลอดจนแก้ปัญหาทางการแพทย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน นวัตกรรมการศึกษาก็หมายถึง
ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ
ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษา
กิดานันท์ มลิทอง (2540 : 245) ได้กล่าวไว้ว่า
นวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า นวัตกรรม หมายถึง
ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ
ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาหรือต่อยอดจากของเดิมให้ดียิ่งขึ้น
และเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา
การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
การเรียนรู คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการไดรับประสบการณและประสบการณนั้นทําใหเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิมซึ่งในการเรียนการสอนไม่วาจะเปนวิชาใดก็ตาม ครูจะตองรูจิตวิทยาในการสอน เพื่อให้การสอนสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ ในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้
และสามารถนำ
คณิตศาสตร์ไปประยุกต์เพื่อพัฒนาคุณภาพของชีวิตและพัฒนาคุณภาพของสังคมไทยให้ดีนั้นผู้จัดควรคำนึงถึงความเหมาะสมและความจำ
เป็นในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ ความพร้อมของสถานศึกษาในด้านบุคลากร ผู้บริหาร ผู้สอน
ผู้เรียน และสิ่งอำนวยความสะดวก
การจัดสาระการเรียนรู้จะต้องจัดให้สอดคล้องกับสาระของกลุ่ม
คณิตศาสตร์ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่กำหนดสาระการเรียนรู้ที่จำ
เป็นสำหรับผู้เรียนทุกคนไว้ดังนี้
1)
จำนวนและการดำเนินการ
2) การวัด
3) เรขาคณิต
4) พีชคณิต
5) การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6) ทักษะ / กระบวนการทางคณิตศาสตร์
หลักและแนวการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
1.สอนให้ผูเรียนเกิดมโนทัศน์หรือไดความรูทางคณิตศาสตร์จากการคิดและมีส่วนรวมใน
การทำกิจกรรมกับผู้อื่น
ใชความคิดและคําถามที่นักเรียนสงสัยเป็นประเด็นในการอภิปราย เพื่อให
ไดแนวคิดที่หลากหลาย และเพื่อนำไปสู่ข้อสรุป
2.สอนใหผูเรียนเห็นโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ความสัมพันธ์และความต่อเนื่องของเนื้อหา
คณิตศาสตร์
3.สอนโดยคำนึงว่าจะให้นักเรียนเรียนอะไร
(What)และเรียนอย่างไร (How)นั่นคือตอง
คำนึงถึงทั้งเนื้อหาวิชาและกระบวนการเรียน
4.สอนโดยการใชสิ่งที่เป็นรูปธรรมอธิบายนามธรรม หรือการทําใหสิ่งที่เป็นนามธรรมมากๆ
เป็นนามธรรมที่ง่ายขึ้นหรือพอที่จะจินตนาการได้มากขึ้นเนื่องจากมโนทัศนทางคณิตศาสตร์บางอยางไมสามารถหาสื่อมาอธิบายได
เป็นนามธรรมที่ง่ายขึ้นหรือพอที่จะจินตนาการได้มากขึ้นเนื่องจากมโนทัศนทางคณิตศาสตร์บางอยางไมสามารถหาสื่อมาอธิบายได
5.จัดกิจกรรมการสอนโดยคำนึงถึงประสบการณและความรูพื้นฐานของนักเรียน
6.สอนโดยใช้แบบฝึกหัดให้ผู้เรียนเกิดประสบการณในการแกปญหาทางคณิตศาสตร์ทั้งการ
ฝกรายบุคคล การฝึกเป็นลุ่ม การฝึกทักษะย่อยทางคณิตศาสตร์และการฝึกทักษะรวม เพื่อแกปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น
7.สอนเพื่อใหผูเรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาสามารถใหเหตุผล เชื่อมโยง
สื่อสาร และคิดอย่างสร้างสรรค์ตลอดจนเกิดความอยากรูอยากเห็น
8.สอนใหนักเรียนเห็นความสัมพันธ์ระหว่างคณิตศาสตร์ในหองเรียนกับคณิตศาสตร์ใน
ชีวิตประจําวัน
9.ผูสอนควรศึกษาธรรมชาติและศักยภาพของผูเรียน
10.สอนใหผูเรียนมีความสุขในการเรียนคณิตศาสตร์รูสึกวาวิชาคณิตศาสตร์ไม่ยาก
และมี
ความสนุกสนานในการทํากิจกรรม
11.สังเกตและประเมินการเรียนรูและความเขาใจของผู้เรียนขณะเรียนในห้องโดยใช
คําถามสั้นๆ หรือการพูดคุยปกติ
นอกจากนี้ยุพิน พิพิธกุล (2545) ยังไดกลาวถึงหลักการสอนคณิตศาสตร์ไววา
1.ควรสอนจากเรื่องงายไปสูเรื่องยาก
2.เปลี่ยนจากรูปธรรมไปสูนามธรรมในเรื่องที่สามารถใชสื่อการเรียนการสอนรูปธรรม
ประกอบ
3.สอนให้สัมพันธ์ความคิดเมื่อครูจะทบทวนเรื่องใดก็ควรจะทบทวนให้หมด
การรวบรวม
เรื่องที่เหมือนกันเข้าเป็นหมวดหมู่จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจและจำได้แม่นยำ
4.เปลี่ยนวิธีการสอนไมซ้ำซากนาเบื่อหน่าย ผูสอนควรจะสอนใหสนุกสนานและน่าสนใจ
ซึ่งอาจจะมีกลอน
เพลง เกม การเล่าเรื่อง การทําภาพประกอบ การตูน ปริศนา ตองรูจัก สอดแทรก
สิ่งละอันพันละน้อย
เพื่อให้บทเรียนน่าสนใจ
5.ใชความสนใจของนกเรียนเป็นจุดเริ่มต้น เป็นแรงดลใจที่จะเรียนด้วยเหตูนี้ในการสอน
จึงมีการนำเขาสู่บทเรียนเร้าใจเสียก่อน
6.ควรจะคำนึงประสบการณ ึ เดิมและทักษะเดิมที่นักเรียนมีอยู กิจกรรมใหมควรจะต่อเนื่อง
กับกิจกรรมเดิม
7.เรื่องที่มีสัมพันธกันก็ควรจะสอนไปพร้อม ๆ กัน
8.ใหผูเรียนมองเห็นโครงสรางไมใชเนนแตเนื้อหา
9.ไมควรเปนเรื่องยากเกินไปผูสอนบางคนชอบใหโจทยยาก ๆ เกินสาระการเรียนรูที่กําหนด
ไวซึ่งอาจจะทำให้ผูเรียนที่เรียนอ่อนท้อถอย
แตถาผูเรียนเกงก็อาจจะชอบควรจะสงเสริมเปนรายไปในการสอนตองคํานึงถึงหลักสูตรและเลือกเนื้อหาเพิ่มเติมใหเหมาะสมทั้งนี้เพื่อสงเสริมศักยภาพ
10.สอนใหนักเรียนสามารถหาข้อสรุปไดดวยตนเองการยกตัวอย่างหลายๆ ตัวอยาง จนนักเรียนเห็นรูปแบบจะช่วยให้นักเรียนสรุปได อยารีบบอกเกินไปควรเลือกวิธีการตางๆ
ที่สอดคลองกับเนื้อหา
11.ใหผูเรียนปฏิบัติในสิ่งทีทําไดลงมือปฏิบัติจริงและประเมินการปฏิบัติจริง
12.ผูสอนควรจะมีอารมณ์ขัน
เพื่อชวยใหบรรยากาศในหองเรียนนาเรียนยิ่งขึ้น
13.ผูสอนควรจะมีความกระตือรือรน และตื่นตัวอยู่เสมอ
14.ผูสอนควรหมั่นหาความรูเพิ่มเติมเพื่อจะนำสิ่งแปลก และใหมมาถายทอดใหผูเรียนและ
ผูสอนควรจะเปนผูที่มีศรัทธาในอาชีพของตนจึงจะทำให้สอนไดดี
การนำสื่อและนวัตกรรมการมาจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
การใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใหปจจุบัน
จึงเป็นการนำเทคโนโลยีมาใชในการปฏิรูปการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนหรือเป็นสำคัญ
เปนการเปลี่ยนบทบาทของผูเรียนจากผู้รับแต่ฝ่ายเดียวมาเป็นผู้กระตือรือร้น
รวมถึงการมีส่วนร่วมในการเรียน ขณะเดียวกันผู้สอนย่อมเปลี่ยนจากเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียนการสอนมาเป็นผู้
คอยชี้แนะ ผูสนับสนุนให้ความร่วมมือ และบางครั้งจะเป็นผู้เรียนรูร่วมไปกับผู้เรียนด้วย
(กิดานันท มลิทอง, 2548, หนา 12-16) และในยุคปัจจุบันมีผู้คิดคนนวัตกรรมใหม่มากมาย เพื่อตอบสนองต่อผู้เรียน
เช่น ชุดการสอน สื่อต่าง อีกทั้ง คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในการตอบสนองต่อข้อมูลที่ผู้เรียนป้อนเข้าไปไดในทันที
ซึ่งเป็นการช่วยเสริมแรงใหแกผูเรียน ทําใหมีการใชการสอนใชคอมพิวเตอร์ช่วย (computer-assistedinstruction
: CAI) ที่เรียกกันวา “คอมพิวเตอร์ช่วยสอน”
หรือ “ซีเอไอ” อยางแพรหลาย
ลักษณะบทเรียนซีเอไอไดอาศัยแนวความคิดจากทฤษฎีการเชื่อมโยงระหวางสิ่งเรากับการตอบสนองซึ่งพัฒนามาจากบทเรียนแบบโปรแกรมนั่นเอง
โดยผูเรียนสามารถเรียนรูจากโปรแกรมบทเรียนรูปแบบต่างๆ ไดแก การสอน การฝึกหัด การจําลอง
เกมเพื่อการสอน การค้นพบ การแกปญหา และเสียง ประกอบในลักษณะของสื่อประสม (multimedia)
และสื่อหลายมิติ (hypermedia) ทำให้ผู้เรียนสนุกไมเบื่อหนายในการเรียน
อ้างอิง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
คู่มือการวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ คุรุสภา ลาดพร้าว,
2546.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ. เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร :
สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2553.
บวร เทศารินทร์.
นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา. เข้าถึงได้ จาก: http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm.
ที่มา : http://engpatcharawansuwan.blogspot.com/2012/06/blog-post.html